เช็คสภาพรถก่อนเดินทางง่าย ๆ ด้วย หลักการดูแลรถ “BE WAGON”
“BE WAGON” ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้ได้กับรถยนต์ทุกประเภทเพื่อให้ทุกการเดินทาง…พร้อม! ทั้งคนและรถ โดยมี 7 ข้อควรทำ คือ B Break ตรวจสอบระบบเบรคว่ายังใช้งานได้ดีด้วยการทดลองเหยียบเบรคเมื่อเริ่มขับในระยะ 3 – 5 เมตรแรก ตรวจสอบผ้าเบรก และเปลี่ยนเมื่อมีความหนาน้อยกว่า 4 มิลลิเมตร หรือเปลี่ยนทุกๆ 25,000 กิโลเมตร E Electricity ตรวจระบบไฟของรถยนต์ทั้งหมด ได้แก่ ระบบไฟส่องสว่าง ไฟสูง ไฟต่ำ ไฟท้าย ไฟเลี้ยว ไฟเบรค ตรวจระบบแบตเตอรี่ ซึ่งควรมีสายพ่วงแบตเตอรี่ติดรถไว้เสมอ รวมทั้งตรวจระบบแตรและที่ปัดน้ำฝนให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน W Water ตรวจสอบระดับน้ำในถังพักน้ำสำรองให้อยู่ระดับสูงสุดและตรวจสอบระดับน้ำในถังน้ำล้างกระจก ตรวจเช็คสภาพและระดับน้ำในหม้อน้ำ ซึ่งสามารถทดสอบหม้อน้ำรั่วได้ง่ายๆ ด้วยการค่อยๆ เติมน้ำทีละน้อย โดยเว้นช่วงการเติมแต่ละครั้งประมาณ 5 นาที ถ้าหากระดับน้ำไม่เพิ่มขึ้น ต้องรีบนำรถส่งซ่อมทันที A Air ตรวจเช็คลมยางและดอกยางโดยดอกไม่ควรลึกน้อยกว่า 3 มิลลิเมตรและยางควรมีอายุไม่เกิน 5 ปีนับจากวันผลิต โดยไม่ควรบรรทุกของหนักบนรถเกินความจำเป็นหรือขับรถด้วยความเร็วสูงจนเกินไป เพราะจะเป็นตัวเร่งให้ยางเสื่อมเร็วยิ่งขึ้น …
เช็คสภาพรถก่อนเดินทางง่าย ๆ ด้วย หลักการดูแลรถ “BE WAGON” Read More »
การบำรุงรักษาแบตเตอรี่
[:TH] การบำรุงรักษาแบตเตอรี่ แบตเตอรี่เป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนพลังงานจากปฏิกิริยาทางเคมี เป็นพลังงานไฟฟ้า ประกอบด้วย – เปลือกหม้อที่ผลิตจากวัสดุที่บอบบาง – แผ่นธาตุประกอบด้วยแผ่นตะกั่วบริสุทธิ์ และแผ่นตะกั่วอ๊อกไซด์ มีแผ่นฉนวนกั้นระหว่างแผ่นธาตุ – น้ำยา หรือ Electrolite ซึ่งเป็นส่วนผสมของน้ำกรดกำมะถันกับน้ำกลั่น ให้ได้ ถพ. ตาม ที่ต้องการประมาณ 1,250 สรุปแล้วแบตเตอรี่เป็นอุปกรณ์ที่บอบบางแต่ราคาแพง หากไม่ได้รับการเอาใจใส่หรือบำรุงรักษาให้ถูกวิธี ก็จะทำให้อายุการใช้งานสั้น ไม่คุ้มค่า เนื่องจากชำรุดเสียหายได้ง่ายจากการกระทบกระแทกของแข็ง หรือใช้งานผิดวิธี ข้อควรระวัง เวลาใส่ขั้วแบตเตอรี่อย่าใช้โลหะหรือของแข็งตอกอัดขั้วลงไป เพราะจะทำให้ขั้วแบตเตอรี่ชำรุดและแผ่นธาตุภายในหลุดร่วง เกิดการชอร์ทในช่องของแบตเตอรี่ ควรใช้มือกดหมุนลงไปเท่านั้น ถ้าขั้วสายเล็กกว่าให้หใช้ไขควงถ่างรอยผ่าเสียก่อน แล้วขันน๊อตให้แน่นพอสมควร เสร็จแล้วใช้จาระบทาบาง ๆ เพื่อป้องกันซัลเฟสเกาะที่ขั้วแบตเตอรี่ เวลาถอดขั้วสายออกจากแบตเตอรี่ห้ามใช้ไขควงหรือของแข็งงัดออก จะทำให้ฝาแบตเตอรี่ชำรุดเสียหายได้ ต้องกระทำโดยวิธีคลายสกรูออกให้หลวมเสียก่อน แล้วใช้ไขควงกดปิดรอยแตกแยกให้ถ่างออกแล้วใช้มือหมุนออกเช่นเดียวกับข้อ 1 อย่าสตาร์ทเครื่องยนต์ให้นานเกินควร หรือสตาร์ทติดต่อเป็นเวลานานเกิน 10 วินาทีถ้ายังขืนสตาร์ทเครื่องยนต์ต่อไปอีก จะทำให้แผ่นธาตุแบตเตอรี่ชำรุด หรือมอเตอร์สตาร์ทไหม้ได้ ให้เปิดฝาตรวจดูระดับน้ำยาที่อยู่ในช่องแบตเตอรี่แต่ละช่องทุกสัปดาห์ ถ้าระดับน้ำยาลดลงให้เติมเฉพาะน้ำกลั่นเท่านั้น และควรสูงท่วมแผ่นธาตุประมาณ 1 ซม. อย่าปล่อยแบตเตอรี่ไว้โดยไม่ได้ใช้งานเป็นเวลานานเป็นอันขาด ต้องนำมาชาร์ทไฟอย่างน้อย 15 วันต่อครั้ง ครั้งละไม่น้อยกว่า 30 นาที ไม่ควรชาร์ทแบตเตอรี่ด้วยกระแสไฟที่สูงเกินไป จะทำให้แผ่นธาตุทำปฏิกิริรยากับน้ำยาอย่างรวดเร็ว เกิดความร้อนสูง ทำให้อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ลดลงกว่ากำหนด …
การบำรุงรักษารังผึ้งหม้อน้ำ
[:TH] การบำรุงรักษารังผึ้งหม้อน้ำ รังผึ้งหม้อน้ำ ทำหน้าที่ควบคุมการระบายความร้อนจากห้องเผาไหม้เครื่องยนต์ ให้อยู่ในอุณหภูมิใช้งาน (Working Temporature) ระหว่าง 160 – 180 ฟ. มีลักษณะบอบบางและราคาแพง หากได้รับการกระทบกระเทือนอย่างแรง หรือถูกวัสดุแข็งเพียงเล็กน้อย รังผึ้งหม้อน้ำก็จะชำรุดเสียหาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขนส่งเครื่องสูบน้ำไปปฏิบัติงานในท้องถิ่น หากไม่ได้รับการเอาใจใส่ดูแลจากผู้ที่เกี่ยวข้องแล้ว รังผึ้งหม้อน้ำมักชำรุดเสียหายก่อน ที่จะนำเครื่องสูบน้ำไปใช้งาน ทำให้เกิดความยุ่งยากเสียเวลาในการซ่อมแซม แต่อย่างไรก็ตามหากผู้เกี่ยวข้องมีความรับผิดชอบ ก็สามารถป้องกันแก้ไขมิให้รังผึ้งหม้อน้ำเกิดการชำรุดเสียหายได้ ข้อควรระวัง ต้องตรวจดูระดับน้ำทุก ๆ ครั้งก่อนติดเครื่องยนต์ ปกติระดับน้ำต้องอยู่ระหว่างคอหม้อน้ำ ควรเติมน้ำที่สะอาดลงไปในหม้อน้ำเท่านั้น เพื่อป้องกันมิให้หม้อน้ำ หรือทางเดินของหลอดรังผึ้งหม้อน้ำเกิดการอุดตัน ตรวจดูรอยรั่วตามที่ต่าง ๆ เช่น ท่อยางหม้อน้ำ รังผึ้ง ปั๊มน้ำ ฯลฯ หากมีรอยรั่วซึมให้ทำการซ่อมแซมแก้ไขทันที ตรวจดูสายพาน อย่าให้หย่อนหรือตึงเกินไป ปกติต้องอยู่ระหว่าง ½” – 1” ตรวจดูครีบที่รังผึ้งหม้อน้ำอย่าให้พับงอปิดช่องทางลม หรือสกปรกเต็มไปด้วยดินโคลนและคราบน้ำมัน เพราะจะทำให้ระบายความร้อนยาก เครื่องยนต์จะร้อนจัด หากครีบพับงอให้ใช้ใบเลื่อยหรือโลหะบาง ๆ ดัดให้ตรง ถ้าครีบสกปรกให้ทำความสะอาด ใช้ลมหรือไอน้ำร้อนที่มีความดันสูงพ่นย้อนทิศทางลมเข้า พัดลมระบายความร้อนต้องอยู่ในสภาพที่ดี ไม่แตกหัก หรือบิดงอเสียศูนย์จะทำให้ปั๊มน้ำชำรุด อย่าติดเครื่องยนต์โดยมิได้ปิดฝาหม้อน้ำเป็นอันขาด เพราะจะทำให้เกิดตะกรันในรังผึ้งและภายใน เครื่องยนต์ …
การเติมลมยาง มีผลกับยางมากกว่าที่คุณคิด
[:TH] การเติมลมยาง มีผลกับยางมากกว่าที่คุณคิด การเติมลมยางนั้นมีผลกับยางอย่างยิ่ง การให้ลมยางจนความดันยางนั้นสูงหรือต่ำกว่ามาตรฐานจะทำให้เกิดอันตรายทั้งสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง และมีผลต่ออายุการใช้งานของยางรถยนต์ การใช้ลมยางที่ไม่เหมาะสมนั้นจะมีผล ต่อการขับขี่รถยนต์ การที่ยางรถยนต์จะตะกุยไปข้างหน้า หรือเบรกรถยนต์ก็มีผล ความดันยางที่ต่ำกว่ามาตรฐาน จะทำให้โครงสร้างของยางรถยนต์นั้นยุบตัวมากกว่าปกติที่ยางรถยนต์ควรจะเป็น ซึ่งจะทำให้เมื่อขับขี่รถยนต์นั้นยางรถจะมีความร้อนสูงขึ้น แรงต้านทานการหมุนของล้อเพิ่มขึ้น การหมุนของพวงมาลัยยากขึ้น และทำให้ล้อนั้นต้องสึกหรือมีอายุการใช้งานที่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น การสึกของยางที่เติมลมยางน้อยเกินไปยางจะเกิดการสึกบริเวณไหล่ยาง และแก้มยางนั้นทำงานหนักเกินไปทำให้สึกหรอได้ง่าย และเมื่อความดันลมยางสูงกว่ามาตรฐาน จะส่งผลต่ออายุการใช้งานเช่นกันและทำให้การขับขี่นั้นเป็นอันตรายเพราะยางรถ ยนต์นั้นยึดติดถนนลดลง และอาจเกิดระเบิดได้ง่าย ซึ่งจะมีผลต่อการสึกหรอของช่วงล่างรถยนต์ วิธีการเติมลมยางให้ถูกต้อง เติมลมตามสเปคของรถที่กำหนด โดยสามารถศึกษาได้จากคู่มือของรถนั้น ๆ ควรเติมลมยางในขณะที่ยางไม่ร้อนเกินไป หากต้องเดินทางไกล นาน ๆ ควรเพิ่มลมยางอีกประมาณ 3-5 PSI (ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) หมั่นเช็คลมยางเป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ดังนั้นผู้ขับขี่รถยนต์ควรระมัดระวังและควรเข้าใจการเติมลมยางทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการเติมเองหรือให้ที่อื่นเติมก็ควรจะเติมตามาตรฐานที่กำหนดซึ่งจะเป็นผลดีต่อผู้ขับขี่และยานพาหนะของผู้ ขับขี่เอง Cr. http://www.deestone.com [:en] การเติมลมยาง มีผลกับยางมากกว่าที่คุณคิด การเติมลมยางนั้นมีผลกับยางอย่างยิ่ง การให้ลมยางจนความดันยางนั้นสูงหรือต่ำกว่ามาตรฐานจะทำให้เกิดอันตรายทั้งสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง และมีผลต่ออายุการใช้งานของยางรถยนต์ การใช้ลมยางที่ไม่เหมาะสมนั้นจะมีผล ต่อการขับขี่รถยนต์ การที่ยางรถยนต์จะตะกุยไปข้างหน้า หรือเบรกรถยนต์ก็มีผล ความดันยางที่ต่ำกว่ามาตรฐาน จะทำให้โครงสร้างของยางรถยนต์นั้นยุบตัวมากกว่าปกติที่ยางรถยนต์ควรจะเป็น ซึ่งจะทำให้เมื่อขับขี่รถยนต์นั้นยางรถจะมีความร้อนสูงขึ้น …
ใครว่าดอกยางไม่สำคัญ
[:TH] ใครว่าดอกยางไม่สำคัญ ดอกยางรถยนต์นั้นมีไว้ เพื่อยึดเกาะถนนและรีดน้ำขณะขับรถเมื่อถนนเปียก เพื่อให้หน้ายางนั้นสัมผัสพื้นถนนทำให้การเดินทางนั้นสามารถเดินทางได้อย่างปลอดภัยและไม่ลื่นจนออกถนน นอกจากนี้ยางยังทำหน้าที่กระจายน้ำหนักให้รถยนต์ โดยหน้ายางจะทำหน้าที่กระจายแรงทั้งหมดไปยังทิศทางต่างๆ สู่ผิวถนน ยางรถยนต์ทุกชนิดจะมีดอกยาง ยกเว้นยางรถยนต์ที่ใช้ในการแข่งขันทางเรียบและความเร็วสูง ที่พื้นถนนต้องแห้ง ซึ่งยางประเภทนี้เรียกว่า สลิ้ก (Slick) ดอกยาง คือส่วนบริเวณบนหน้ายาง และมีหน้าสัมผัสถนนตลอดเวลาที่รถวิ่ง ร่องยาง คือร่องที่ลึกลงไปจากหน้ายาง หรือร่องที่อยู่ระหว่างยาง ร่องยางที่ตื้น (ดอกยางหมด) หรือที่เรียกกันว่า ดอกยางโล้น จะทำให้ยางนั้นรีดน้ำได้น้อยลงและลื่นเมื่อเจอสภาพถนนที่เปียกหรือฝนตก เพราะร่องยางนั้นมีไว้เพื่อรีดน้ำ โดยหากมีร่องยางที่ตื้นน้ำที่แทรกอยู่ระหว่างหน้ายางกับพื้นถนน จะทำให้ผิวสัมผัสหน้ายางกับพื้นถนนลดลง ซึ่งเมื่อวิ่งก็จะเกิดอาการลื่นไถล แต่เมื่อวิ่งในถนนที่แห้งและแดดจัด จะวิ่งได้ดีกว่าเพราะยางมีหน้าสัมผัสพื้นถนนมากกว่า ดอกยางที่ดีควรมีความลึกไม่น้อยกว่า 3 มม. ซึ่งขึ้นอยู่กับความลึกของน้ำบนผิวถนนและความเร็วของรถด้วยส่วนอายุของยางไม่ควรเกิน 5 ปี นับจากวันที่ผลิต หากครบหรือเกินควรรีบเปลี่ยนทันทีเพื่อความปลอดภัย ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีการผลิตยางของดีสโตน ได้คิดค้นการออกแบบดอกยางตามวัตถุประสงค์การใช้งานของรถยนต์แต่ละประเภทที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ดอกยางแต่ละประเภทมีความสัมพันธ์กับการยึดเกาะถนน การรีดน้ำ การสลัดดินโคลน การตะกุยปีนป่าย รวมถึงเรื่องของเสียงรบกวนอีกด้วย ยางรถยนต์ที่ใช้งานบนถนนที่เรียบ ดอกยางควรเป็นดอกละเอียด ร่องยางไม่ห่าง เพื่อไม่ให้เสียพื้นผิวสัมผัสกับหน้าถนนมากจนเกินไป สามารถรีดน้ำออกได้อย่างรวดเร็ว และมีเสียงรบกวนน้อย ยางรถยนต์ที่ใช้งานถนนออฟโรด ลุยโคลน หินหรือใช้งานในเส้นทางวิบาก …