ดิน หน้าดิน ขนส่งดิน ขายดิน ดินซีแล็ค

ดิน การกำเนิดและชนิดของดิน

ดิน

ประมาณ 1 ใน 4 ส่วนของพื้นผิวโลกเป็นพื้นทวีป? ที่เหลืออีก 3 ใน 4 ส่วนเป็นพื้นมหาสมุทร? พื้นทวีปส่วนใหญ่มีดินปกคลุมอยู่เป็นชั้นบาง ๆ? ดินเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับการยังชีพและการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต? โดยเฉพาะมนุษย์ เพราะปัจจัยหลักในการยังชีพของมนุษย์ ได้แก่? อาหาร? เครื่องนุ่งห่ม? ที่อยู่อาศัย? และยารักษาโรค? ล้วนได้มาจากดินทั้งสิ้น ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม? เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับดิน? นักเรียนจะได้ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะทั่วไป? การกำเนิด? การใช้ประโยชน์? การอนุรักษ์? และการปรับปรุงคุณภาพของดิน

  1. ลักษณะทั่วไปของดิน

ในชีวิตประจำวัน? ทุกคนมีส่วนเกี่ยวข้องกับดินตลอดเวลา? เช่น? การตั้งบ้านเรือน? การเพาะปลูก? และการเลี้ยงสัตว์? ส่วนใหญ่กระทำบนดิน? จากการศึกษาที่ผ่านมาทำให้ทราบว่า? ดินมีส่วนประกอบ? สี? รูพรุน? และดูดซับน้ำได้ต่างกัน? ดินบางชนิดเหนียว บางชนิดร่วน? จึงมีความเหมาะสมในการปลูกพืชต่างชนิดกัน? เพื่อให้เกิดความเข้าใจลักษณะทั่วไปของดิน? เราจะศึกษาลักษณะของดินบริเวณผิวดินว่ามีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสิ่งใดบ้างและอย่างไร

ในการสำรวจผิวดินบริเวณต่าง ๆ? จะพบว่าดินมีส่วนประกอบที่คล้ายคลึงกันคือมีซากพืช? ซากสัตว์ที่ตายทับถมปนอยู่ในดิน? เมื่อเวลาผ่านไปซากสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นจะถูกย่อยสลายกลายเป็นฮิวมัส? ดินที่ดีจะมีฮิวมัสมาก? มีน้ำหนักเบาและซับน้ำได้ดี? ทำให้ดินเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืช? นอกจากนี้ดินทรายยังมีรูพรุนมาก? แก๊สและน้ำซึมผ่านได้ง่าย? ส่วนดินเหนียวเม็ดดินจะเกาะกันแน่น ทำให้น้ำและแก๊สซึมผ่านได้ยาก เป็นสาเหตุให้พืชขาดออกซิเจน และเจริญเติบโตช้า

ถ้าเราขยายบริเวณที่ศึกษากว้างออกไป? จะพบว่าดินมีลักษณะแตกต่างกัน? โดยทั่วไปดินจะประกอบด้วย? ดินเหนียว (Clay)? ทรายแป้ง (Silt) ?ทราย เศษหิน สารอินทรีย์ น้ำ และแก๊ส? ด้วยอัตราส่วนที่แตกต่างกัน? เช่น? ดินบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีธรณีสัณฐานเป็นที่ราบสูง? ส่วนมากประกอบด้วยหินทราย? หินทรายแป้ง หินกรวดมน และหินดินดาน ดังนั้นดินส่วนใหญ่บริเวณนี้จึงเป็นดินปนทราย ในพื้นที่ราบและที่ราบระหว่างเนินเขา? บางแห่งมีชั้นเกลือหินแทรกสลับอยู่ในกลุ่มหินเหล่านี้ ทำให้ดินบริเวณนั้นเป็นดินเค็ม เนื่องจากมีสารละลายเกลือตกตะกอนอยู่ในเนื้อดิน

ธรณีสัณฐาน หมายถึง? ลักษณะรูปร่างของพื้นผิวโลกตั้งแต่เริ่มกำเนิดแล้วมีการเปลี่ยนแปลงจากกระบวนการทางธรณีวิทยาจนมีลักษณะรูปร่างอย่างมี่พบเห็นอยู่ในปัจจุบัน? เช่น? เป็นภูเขา? ที่ราบสูง? ที่ราบชายฝั่ง หมู่เกาะ เป็นต้น

จากการศึกษาพบว่า ดินที่อยู่ในระดับความลึกต่างกันส่วนใหญ่จะมีลักษณะต่างกันและมีการแบ่งดินตั้งแต่ชั้นผิวดินจนถึงชั้นต้นกำเนิดดินออกกว้าง ๆ เป็น 4 ชั้น? โดยทั่วไปบนพื้นดินที่มีต้นไม้ปกคลุม มีเศษใบไม้? กิ่งไม้ผุพังทับถมอยู่ด้วย? พื้นดินจะมีความชุ่มชื้นสูง เกิดการย่อยสลายของซากพืชและซากสัตว์ได้ดี ทำให้ผิวดินมีฮิวมัสปนอยู่มาก ดินก็มีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้นด้วย ดินในชั้นบนสุดนี้เรียกว่าชั้น O มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช จึงพบรากของพืชแผ่กระจายอยู่โดยทั่วไป

ชั้นที่อยู่ลึกถัดลงไปเป็นดินชั้น A จะมีลักษณะแตกต่างกับชั้นบนสุดค่อนข้างชัดเจน ประกอบด้วยอินทรียวัตถุที่สลายตัวแล้วผสมคลุกเคล้ากับแร่ธาตุในดิน

ชั้นที่อยู่ลึกถัดลงไปอีกเป็นชั้น B จัดเป็นชั้นสะสมตะกอนและแร่ที่มีองค์ประกอบของเหล็ก อะลูมิเนียม คาร์บอเนต และซิลิกา เป็นต้น สารเหล่านี้ส่วนมากจะถูกชะล้างลงมาจากดินชั้นบน ทำให้ดินมีเนื้อแน่น มีความชื้นสูง และมีจุดประ (mottle) สีส้มแดง กระจายอยู่ในชั้นหน้าตัดดินเห็นได้ชัดเจน ส่วนมากดินชั้นนี้เป็นดินเหนียว

สำหรับชั้นที่ลึกที่สุดคือชั้น C เป็นชั้นของหินผุและเศษหินที่แตกหักจากหินดานที่เกิดอยู่ในพื้นที่นั้น มีลักษณะเป็นก้อน เป็นพืด ซึ่งหินดานนี้จัดเป็นหินต้นกำเนิดดิน

ความหนาของชั้นดินจะแตกต่างกันตามความลึกของชั้นหินดาน ถ้าชั้นหินดานอยู่ตื้นมากชั้นดินจะบาง พืชที่มีรากหยั่งลึกจะเจริญเติบโตได้ไม่ดี? ดินบริเวณนี้จึงเหมาะแก่การปลูกพืชที่มีรากแผ่กระจายบริเวณผิวดิน

จากลักษณะของดินดังกล่าวจะเห็นว่าดินเกิดมาจากหิน โดยหินถูกกัดเซาะผุพังจากการกระทำของกระแสลม น้ำ ตลอดจนพืชและสัตว์ต่าง ๆ รวมทั้งมนุษย์ด้วย ทำให้หินที่แข็งเปลี่ยนสภาพเป็นหินผุ ร่วน และในที่สุดแตกสลายกลายเป็นเศษหินขนาดต่าง ๆกัน? นอกจากนั้นเมื่อพืชและสัตว์ล้มตายลง ก็จะเปลี่ยนสภาพเป็นอินทรียวัตถุ ผสมกับเศษหินจึงกลายเป็นดิน กระบวนการเหล่านี้ใช้เวลานานมากกว่าจะเกิดเป็นชั้นดินสะสมตัวทับถมกันหนาขึ้น ในเวลาต่อมาดินเหล่านั้นก็จะถูกพัดพาจากแหล่งต้นกำเนิดไปสะสมตัวในที่ต่าง ๆ สำหรับประเทศไทยน้ำจะเป็นตัวการสำคัญที่พัดพาดินจากบริเวณหนึ่งไปอีกบริเวณหนึ่งตามความลาดเอียงของพื้นที่ลงสู่ที่ราบ หรือพัดพาไปตามลำน้ำ แล้วสะสมตัวเป็นที่ราบน้ำท่วมถึง นอกจากนั้นลมก็ยังช่วยพัดพาดิน ทราย และทรายแป้ง ไปสะสมตัวเป็นเนินทรายซึ่งจะพบได้มากตามแนวชายฝั่งทะเล

เนื่องจากการเกิดดินต้องผ่านกระบวนการที่ซับซ้อนและใช้เวลานานมากดังกล่าว ดังนั้นจึงควรใช้ดินอย่างรู้คุณค่า มีการอนุรักษ์ดินและใช้ประโยชน์ที่ดินให้เหมาะสมตามสภาพแวดล้อม ดินที่มีกดารเกิดแตกต่างกันจะมีสมบัติแตกต่างกัน

  1. สมบัติบางประการและการปรับปรุงคุณภาพของดิน

กรมพัฒนาที่ดินได้ศึกษาดินในบริเวณต่าง ๆ ของประเทศไทย และจัดทำแผนที่ดิน โดยจำแนกดินออกเป็นกลุ่มหลักๆ เรียกว่าชุดดิน ดังตัวอย่างต่อไปนี้

เขตพื้นที่

ลักษณะดิน

ชุดดินที่สำคัญ

การใช้ประโยชน์

บริเวณที่ราบภาคกลางและที่ราบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นที่ราบน้ำขึ้นถึงและบริเวณริมแม่น้ำเป็นต้น ดินมีการแบ่งชั้นไม่ชัดเจน มีหน้าตัดดินชั้น A-C มีความอุดมสมบูรณ์พอสมควร บางแหล่งมีน้ำมาก ดินมีความเป็นกรดจัด มีปริมาณเกลือปนอยู่มาก ชุดดินราชบุรี

ชุดดินองครักษ์

ชุดดินพิมาย

ส่วนใหญ่ใช้ทำนา ปลูกข้าว ปลูกไม้ผล เช่นส้ม
บริเวณชายฝั่งทะเลและตะพักลำน้ำ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นดินทราย ดินมีการแบ่งชั้นไม่ชัดเจน มีหน้าตัดดินชั้น A-C ความอุดมสมบูรณ์ต่ำมาก วัตถุต้นกำเนิดดินเป็นทรายและหินทราย ระบายน้ำได้ดีจนถึงดีเกินไป ชุดดินหัวหิน

ชุดดินระยอง

ชุดดินน้ำพอง

ส่วนใหญ่ปลูกพืชไร่ เช่น มันสำปะหลัง สับปะรด
บริเวณลาดเขาหินปูนตามขอบที่ราบภาคกลางและภูเขาตอนกลางของประเทศ ส่วนมากเป็นดินที่เกิดจากการผุพังของหินปูนหรือดินมาร์ลมีหน้าตัด A-C หน้าดินจะมีสีดำ ร่วน และค่อนข้างหนา ดินชั้นล่างเป็นหินปูนที่ผุพัง มี pH 7-8 ชุดดินตาคลี

ชุดดินระยอง

ปลูกพืชไร่ทั่วไป เช่น ข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลัง
บริเวณที่ราบและตะพักลำน้ำระดับสูง เป็นดินที่มีการระบายน้ำไม่ดี มีสภาพน้ำขัง มีจุดประในเนื้อดิน มีหน้าตัดดินชั้น A-B ดินชั้นล่างมักเป็นชั้นดินลูกรัง มี pH ค่อนข้างต่ำ (4.5-5.5) ชุดดินเชียงราย

ชุดดินลำปาง

ชุดดินหล่มเก่า

ชุดดินมโนรมย์

ใช้ปลูกข้าว
บริเวณพื้นที่สูงที่เป็นป่าไม้และเชิงเขาทั่วไป เป็นดินที่เกิดจากการผุพังของหินหลายประเภท มีการเรียงตัวของชั้นดินตั้งแต่ A-C ดินชั้น A มีสีจาง ส่วนดินชั้น B มีสีแดงหรือเหลืองชัดเจน อาจมีเศษหิน เศษศิลาแดงปะปนอยู่ด้วย มีค่า pH ปกติ (5-6) ชุดดินท่ายาง

ชุดดินชุมพร

ชุดดินหาดใหญ่

ชุดดินภูเก็ต

ชุดดินโพนพิสัย

ชุดดินเขาใหญ่

มักใช้ปลูกพืชไม้ยืนต้น เช่น ปาล์ม

จากตาราง จะเห็นว่าดินในแต่ละภูมิภาคของไทยมีลักษณะทั่วไปแตกต่างกัน เช่น ในเขตภาคกลางที่เป็นที่ราบลุ่ม ดินจะแบ่งชั้นไม่ชัดเจน บางแหล่งมีน้ำมากใช้ปลูกข้าวเป็นส่วนใหญ่ แต่ถ้าเป็นเขตภาคกลางที่เป็นบริเวณภูเขาจะเป็นดินเหนียวมีสีดำเข้ม ถ้าเปียกจะร่วนซุย ถ้าแห้งจะแตกระแหง เหมาะในการปลูกพืชไร่ ส่วนดินในเขตพื้นที่ราบลุ่มริมแม่น้ำส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นดินร่วน และดินร่วนค่อนข้างเหนียว ส่วนดินในเขตที่ราบสูงโคราชส่วนมากเป็นดินทรายที่เกิดจากการผุพังของหินทรายและหินทรายแป้ง เป็นต้น

ปัญหาที่เกิดจากดินทั้งจากธรรมชาติและจากการใช้ประโยชน์ของมนุษย์มีหลายลักษณะ เช่น ดินเปรี้ยว ดินเค็ม ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ และดินฝาด เป็นต้น ซึ่งส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืช การแก้ปัญหาดังกล่าวของดินจึงต้องใช้หลายวิธีที่แตกต่างกัน ดังนี้

ดินเปรี้ยว คือดินที่มีสภาพเป็นกรด ถ้าดินเปรี้ยวมาก ๆ พืชจะไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร เพราะสภาพทางเคมีและชีวภาพของดินได้ถูกเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืช การปรับปรุงแก้ไขความเป็นกรดของดิน ใช้หลักการเดียวกับการทำสารที่เป็นกรดให้มีสภาพเป็นกลางด้วยการใส่สารที่เป็นด่างลงไปในดินให้มีปริมาณเท่ากับความเป็นกรดทั้งหมดของดิน สารที่ใช้กันทั่ว ๆ ไปได้แก่ ปูนขาว เมื่อใช้ปูนที่มีอนุภาพละเอียดและคลุกเคล้าให้เข้ากับดินมากเท่าใด ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นก็จะรวดเร็วทำให้ดินเปลี่ยนสภาพจากกรดได้เร็วขึ้นเท่านั้น

ดินเค็ม เป็นดินที่มีความระดับความเข้มข้นของเกลือในดินสูง พืชไม่สามารถดูดน้ำจากดินมาเลี้ยงลำต้นได้ ทำให้ต้นพืชเหี่ยวและใบไหม้ การปรับปรุงส่วนใหญ่จะใช้น้ำจืดชะล้างแล้วทำทางระบายน้ำเกลือทิ้ง หรือใส่แคลเซียมซัลเฟต หรือกำมะถันผงเพื่อปรับสภาพดิน ให้กลายเป็นเกลือโซเดียมซัลเฟตที่น้ำชะล้างออกได้ง่าย

ดินที่ขาดอุดมสมบูรณ์ เนื้อดินจะมีลักษณะหยาบ ดูดซับน้ำและแร่ธาตุได้น้อยไม่เหมาะกับการเจริญเติบโตของพืช สามารถแก้ไขปัญหาได้โดยใส่อินทรียวัตถุลงในดินอย่างสม่ำเสมอ อินทรียวัตถุจะช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ เพิ่มการดูดซับน้ำ และช่วยให้อนุภาคดินเกาะยึดกันเป็นเม็ดที่ทนทานต่อการกัดเซาะของน้ำฝน หรือน้ำไหลป่าได้ดีขึ้น ส่วนดินเนื้อละเอียดแน่น รากพืชชอนไชได้ยาก สามารถแก้ไขปัญหาได้เช่นเดียวกับดินเนื้อหยาบ เพราะอินทรียวัตถุสามารถช่วยให้ดินมีรูพรุนและร่วนซุยมากขึ้น หรือมีการแลกเปลี่ยนแก๊ส และระบายน้ำได้ดีขึ้นอีกด้วย

ดินฝาด เป็นดินที่มีสภาพเป็นเบสมาก ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชเช่นกัน และเป็นสภาพของดินที่แก้ไขปรับปรุงได้ยาก มีความซับซ้อนมาก

 

ท่าทรายกนก