ต้นทุนการขนส่ง

การลดต้นทุนการขนส่ง

รถบรรทุก พ่วงดั๊มพ์ รับขนส่งสินค้า ขนส่งถ่านหิน กะลาปาล์ม อลูมิน่า
รถบรรทุก พ่วงดั๊มพ์ รับขนส่งสินค้า ขนส่งถ่านหิน กะลาปาล์ม อลูมิน่า

ต้นทุนการขนส่งมีหลายประเภท ได้แก่ ต้นทุนเบื้องต้น (Initial Cost) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อมีการซื้อรถบรรทุก การต่อตัวถังหรือติดตั้งเครื่องมืออุปกรณ์บนรถ ต้นทุนดำเนินงาน (Operating Cost) ส่วนใหญ่จะเป็นต้นทุนคงที่และลดได้ยาก เช่น เงินเดือน ค่าประกันภัย ภาษีรถ ค่าใช้จ่ายสำนักงาน ค่าเช่า ค่าเสื่อมราคาต่างๆ เป็นต้น แต่สิ่งที่อยากเน้นคือ Running Cost หรือต้นทุนการวิ่งขนส่ง เช่น ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าซ่อมบำรุง และค่ายาง Running Cost นั้นเป็นต้นทุนสำคัญ ธุรกิจขนส่งจะกำไรหรือขาดทุนก็ขึ้นกับการบริหารจัดการ Running Cost และขึ้นอยู่กับว่ามีพนักงานที่ดีมีประสิทธิภาพเพียงใด ปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของ Running Cost คือ สภาพรถ สมรรถนะ การจัดการด้านต่างๆ ระบบการบริหารงาน แต่ปัจจัยที่สำคัญมากที่สุด คือบุคลากร โดยเฉพาะพนักงานขับรถ

รถบรรทุก พ่วงดั๊มพ์ รับขนส่งสินค้า ขนส่งถ่านหิน กะลาปาล์ม อลูมิน่า
รถบรรทุก พ่วงดั๊มพ์ รับขนส่งสินค้า ขนส่งถ่านหิน กะลาปาล์ม อลูมิน่า

          รถรุ่นเดียวกันสมรรถนะเท่ากัน ออกไปวิ่งขนส่งคนละบริษัทค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นต่างกัน อัตราน้ำมันเชื้อเพลิงก็ต่างกัน เพราะขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการและบุคลากรที่จะให้ความสำคัญกับเรื่องการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง ข้อมูลในแผนภูมิที่ 2 นี้มาจากประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นตัวเลขของรถอีซูซุรุ่นหนึ่ง จะเห็นได้ว่า Running Cost ที่เกิดขึ้น ค่าน้ำมันมีค่ามากที่สุดคือประมาณ 67% ค่าซ่อมบำรุงรักษา 26% ค่ายาง 7% ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงก็มีแนวโน้มอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการลดค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงจึงเป็นสิ่งที่เราต้องให้ความสำคัญลำดับแรก

ในการดูแลค่าใช้จ่ายหลัก 3 ประการนี้ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นเรื่องใหญ่ ทำอย่างไรถึงจะใช้น้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพบางคนเติมน้ำมันเต็มถังวิ่งได้ 500 กม. บางคนวิ่งได้ 300 กม. ค่าซ่อมบำรุงบางคันสูง บางคันต่ำมาก ค่าซ่อมบำรุงสามารถลดได้ถ้าดูแลอย่างใกล้ชิด ค่ายางก็เช่นเดียวกันสามารถลดได้ถ้ามีการดูแลอย่างใกล้ชิด การบริหารต้นทุนต้องควบคุมค่าใช้จ่าย 3 ประการนี้ให้ได้ นอกจากนั้นพนักงานขับรถก็มีบทบาทสำคัญต้องให้ความรู้ที่ถูกต้อง ต้องรู้เทคนิคการขับรถให้ประหยัด ต้องรู้วิธีการตรวจเช็ครถที่ถูกต้อง และมีความระมัดระวังในการขับ

เวลาที่รถบรรทุกวิ่งขนส่งอยู่จะมีแรงต้านการเคลื่อนที่ของรถไม่ให้รถวิ่งได้สะดวกอยู่ 4 ลักษณะ คือ

1.   แรงต้านอากาศ หากรถมีพื้นที่หน้าตัดด้านหน้ารถใหญ่หรือตัวถังสูง ก็จะมีแรงต้านอากาศสูง

2.   แรงต้านการหมุนของล้อ ขึ้นอยู่กับน้ำหนักรถ ตัวถัง และสินค้าที่บรรทุก หากมีน้ำหนักมากก็จะมีแรงต้านมาก

3.   แรงต้านขณะขึ้นทางลาดชัน หากทางลาดชันมากแรงต้านก็ยิ่งมาก

แรงต้านทั้ง 3 ลักษณะนี้ควบคุมไม่ได้ เพราะขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและถนน? แต่มีแรงต้านหนึ่งที่ควบคุมได้ และมีความสำคัญที่สุดต่อค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งก็คือ

4.   แรงต้านการเร่ง ซึ่งขึ้นอยู่พฤติกรรมการขับขี่ของพนักงานขับรถล้วน ๆ อันเป็นหัวใจที่สำคัญต่อการประหยัดน้ำ

มันเชื้อเพลิง

การควบคุมการบริหาร Running Cost นั้นเป็นสิ่งท้าทาย จึงอยู่ที่การปรับเปลี่ยนบทบาทและพฤติกรรมการขับขี่ของพนักงานขับรถนั้นเป็นสำคัญ หากพนักงานขับรถได้รับการอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ และทักษะในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการขับขี่อย่างประหยัดน้ำมันอย่างสม่ำเสมอ และมีการวิเคราะห์เก็บข้อมูล ตรวจสอบวัดผล รวมถึงการสร้างกลไกในการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติอย่างจริงจัง เชื่อว่าจะสามารถลดค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงได้อย่างน่าพอใจ

การขนส่งในประเทศไทยส่วนใหญ่เราบริหารด้วยประสบการณ์ส่วนบริษัทต่างชาติจะมีการนำวิชาการและซอฟแวร์เข้ามาใช้ ผู้ประกอบการคนไทยต้องปรับตัว ต้องเริ่มเอาซอฟต์แวร์เข้ามาใช้เก็บข้อมูลนั้นมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ สิ่งที่เป็นหัวใจของการอยู่รอดคือ มีกำไร ดังนั้นจำเป็นต้องบริหารค่าใช้จ่ายหลัก 3 ประการ (น้ำมันเชื้อเพลิง ค่าซ่อมบำรุง และค่ายาง) รวมถึงการบริหารการเดินรถเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม หมายถึงจะทำอย่างไรที่จะใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ใช้รถ ใช้บุคลากรที่มีอยู่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพโดยไม่ได้ลงทุนเพิ่ม รวมถึงความเข้าใจในเรื่องบัญชีการขนส่งเชิงวิเคราะห์ บัญชีนี้ไม่เหมือนบัญชีที่ท่านนำส่งสรรพากรเพราะว่าบัญชีที่ท่านนำส่งสรรพากรเป็นบัญชีกำไรและขาดทุนรวมของบริษัท แต่บัญชีนี้หมายถึงบัญชีเชิงขนส่งจริงๆ เราต้องการรู้จุดคุ้มทุนรถขนส่งแต่ละคัน ต้องการรู้ผลกำไร ขาดทุนผลประกอบการของรถแต่ละคัน ท่านมีรถบรรทุก 100 คันสิ้นปีบอกว่ามีกำไรแล้ว ในความเป็นจริงอาจมีรถเพียง 60 คัน เท่านั้นที่ทำกำไรให้ท่าน แต่อีก 40 คันขาดทุน ท่านจึงต้องรู้ว่าคันไหนขาดทุน คันไหนกำไร และพยายามหาทางแก้ไขคันที่ขาดทุน หาสาเหตุให้ได้ว่าขาดทุนได้อย่างไร เกิดจากพนักงานขับรถ ตัวรถ หรือระบบ

ท่าทรายกนก