การฟื้นฟูสภาพพื้นที่ขุด ตัก และดูดทรายแม่น้

[:TH]

การฟื้นฟูสภาพพื้นที่ขุด ตัก และดูดทรายแม่น้ำ

การฟื้นฟูสภาพพื้นที่บริเวณแปลงดูดทรายที่ได้รับอนุญาต สามารถกระทำได้เพียงการปรับปรุงสภาพตลิ่งของลำน้ำให้คงสภาพเดิมตามธรรมชาติ โดยเฉพาะบริเวณท่าทราย นับเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเริ่มดำเนินการตั้งแต่ขั้นตอนของการเตรียมการ ต่อเนื่องไปจนถึงขั้นตอนการดำเนินงาน และเมื่อสิ้นสุดการดำเนินงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการขุด ตัก และดูดทราย และวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินตลอดจนทรัพยากรอื่น ๆ ให้สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีกครั้ง ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังนี้

  1. ในขั้นตอนการเตรียมการขุด ตัก และดูดทราย จะต้องวางแผนการฟื้นฟูควบคู่ไปกับการป้องกันผลกระทบจากการทำทราย ดังนี้

  2. การป้องกันการชะล้างพังทลายของดินบริเวณริมตลิ่งที่ได้ปรับสภาพเป็นท่าทราย ในลักษณะการป้องกันการชะล้างแบบร่องลึก ร่วมกับการปลูกพืชคลุมดินในส่วนที่เป็นขอบตลิ่ง ได้แก่ การปลูกหญ้าหรือพืชตระกูลถั่วในระยะแรก แล้วจึงปลูกไม้โตเร็วหรือพันธุ์ไม้ท้องถิ่นในภายหลัง

  3. จัดทำระบบระบายน้ำและถนน ให้เหมาะสมตามความลาดเอียงของสภาพภูมิประเทศ และ/หรือสอดคล้องเชื่อมโยงกับทางน้ำธรรมชาติ และโครงข่ายถนนบริเวณใกล้เคียง โดยมีทางระบายน้ำล้น (Spill Way) หรือท่อระบายน้ำควบคุม

  4. กำหนดแผนผังหรือแบบแปลนแสดงอาณาบริเวณทั้งหมดของสถานประกอบการขุด ตัก และดูดทราย รวมทั้งบริเวณใกล้เคียง รายละเอียดเกี่ยวกับแบบแปลนทั้งหมดของบ่อทราย และสถานประกอบการที่ใช้สำหรับกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การล้างทำความสะอาดและคัดแยกขนาดทราย เป็นต้น

  5. กำหนดแบบแปลนการติดตั้งเครื่องจักร รายละเอียดเครื่องจักร และการเลือกสรรเครื่องจักรกล อุปกรณ์ หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการขุด ตัก และดูดทราย ที่มีความสัมพันธ์กับปริมาณของทรายและคุณสมบัติของทรายในพื้นที่ ตลอดจนผลตอบแทนทางด้านเศรษฐศาสตร์

  6. การปรับสภาพพื้นที่ให้มีความกลมกลืนกับพื้นที่ใกล้เคียง และ/หรือปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ให้สอดคล้องกับรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินที่กำหนดไว้ เพื่อลดผลกระทบทางด้านทัศนียภาพ โดยการปลูกต้นไม้โดยรอบพื้นที่ทำทราย ก่อนการจัดวางเครื่องจักรหรือการปรับสภาพพื้นที่ ตั้งแต่เริ่มดำเนินการตามแผนงานที่ได้วางไว้

  7. ในขั้นตอนการดำเนินงานขุด ตัก และดูดทราย จะต้องรักษาสภาพความมั่นคงของขอบตลิ่ง และการดูแลแนวไม้ที่ปลูกโดยรอบพื้นที่ท่าทรายให้มีความสมบูรณ์

  8. ในขั้นตอนภายหลังจากการขุด ตัก และดูดทราย

  9. ภายหลังจากสิ้นสุดการขุด ตัก และดูดทราย การทำทรายแม่น้ำซึ่งทำในพื้นที่สาธารณะ ต้องเคลื่อนย้ายเครื่องจักรอุปกรณ์ รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ตลอดจนสาธารณูปโภคต่าง ๆ ที่ไม่ใช้ประโยชน์ในการฟื้นฟูสภาพพื้นที่ออกให้หมด

  10. ดำเนินการปรับปรุงสภาพพื้นที่บริเวณท่าทราย ให้เหมาะสมกับรูปแบบการใช้ที่ดินที่กำหนดไว้ในแผนงานตั้งแต่เริ่มดำเนินโครงการ

cr : http://www.onep.go.th/

[:]

ท่าทรายกนก