การบำรุงรักษารังผึ้งหม้อน้ำ

[:TH]

การบำรุงรักษารังผึ้งหม้อน้ำ

รังผึ้งหม้อน้ำ  ทำหน้าที่ควบคุมการระบายความร้อนจากห้องเผาไหม้เครื่องยนต์  ให้อยู่ในอุณหภูมิใช้งาน  (Working Temporature)  ระหว่าง  160 – 180 ฟ. มีลักษณะบอบบางและราคาแพง  หากได้รับการกระทบกระเทือนอย่างแรง  หรือถูกวัสดุแข็งเพียงเล็กน้อย  รังผึ้งหม้อน้ำก็จะชำรุดเสียหาย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขนส่งเครื่องสูบน้ำไปปฏิบัติงานในท้องถิ่น  หากไม่ได้รับการเอาใจใส่ดูแลจากผู้ที่เกี่ยวข้องแล้ว  รังผึ้งหม้อน้ำมักชำรุดเสียหายก่อน  ที่จะนำเครื่องสูบน้ำไปใช้งาน  ทำให้เกิดความยุ่งยากเสียเวลาในการซ่อมแซม  แต่อย่างไรก็ตามหากผู้เกี่ยวข้องมีความรับผิดชอบ  ก็สามารถป้องกันแก้ไขมิให้รังผึ้งหม้อน้ำเกิดการชำรุดเสียหายได้

ข้อควรระวัง

  1. ต้องตรวจดูระดับน้ำทุก ๆ ครั้งก่อนติดเครื่องยนต์ ปกติระดับน้ำต้องอยู่ระหว่างคอหม้อน้ำ
  1. ควรเติมน้ำที่สะอาดลงไปในหม้อน้ำเท่านั้น เพื่อป้องกันมิให้หม้อน้ำ  หรือทางเดินของหลอดรังผึ้งหม้อน้ำเกิดการอุดตัน
  1. ตรวจดูรอยรั่วตามที่ต่าง ๆ เช่น ท่อยางหม้อน้ำ  รังผึ้ง  ปั๊มน้ำ  ฯลฯ  หากมีรอยรั่วซึมให้ทำการซ่อมแซมแก้ไขทันที
  1. ตรวจดูสายพาน อย่าให้หย่อนหรือตึงเกินไป  ปกติต้องอยู่ระหว่าง ½” – 1”
  2. ตรวจดูครีบที่รังผึ้งหม้อน้ำอย่าให้พับงอปิดช่องทางลม หรือสกปรกเต็มไปด้วยดินโคลนและคราบน้ำมัน  เพราะจะทำให้ระบายความร้อนยาก  เครื่องยนต์จะร้อนจัด  หากครีบพับงอให้ใช้ใบเลื่อยหรือโลหะบาง ๆ ดัดให้ตรง  ถ้าครีบสกปรกให้ทำความสะอาด  ใช้ลมหรือไอน้ำร้อนที่มีความดันสูงพ่นย้อนทิศทางลมเข้า
  1. พัดลมระบายความร้อนต้องอยู่ในสภาพที่ดี ไม่แตกหัก  หรือบิดงอเสียศูนย์จะทำให้ปั๊มน้ำชำรุด
  1. อย่าติดเครื่องยนต์โดยมิได้ปิดฝาหม้อน้ำเป็นอันขาด เพราะจะทำให้เกิดตะกรันในรังผึ้งและภายใน  เครื่องยนต์  เนื่องจากน้ำในรังผึ้งหม้อน้ำระเหยออกได้ง่าย  เครื่องยนต์จะร้อนจัด  เพราะระบายความร้อนยาก
  2. เกย์วัดความร้อนต้องอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ หากเสียใช้การไม่ได้ให้จัดการเปลี่ยนใหม่
  1. อย่าปิดฝาหม้อน้ำเพื่อตรวจเช็คระดับน้ำในขณะที่เครื่องยนต์มีอุณหภูมิสูง หรือกำลังทำงานอยู่  เพราะกำลังดันของไอน้ำจะทำให้เกิดอันตรายได้
  2. หากน้ำในหม้อน้ำเกิดแห้งลงในขณะที่เครื่องยนต์กำลังทำงาน และมีอุณหภูมิสูง  อย่าดับเครื่องยนต์และเติมน้ำในทันที  ให้ติดเครื่องเดินเบาสักระยะหนึ่ง  พอให้อุณหภูมิเครื่องยนต์ลดลง  แล้วค่อย ๆ เติมน้ำที่สะอาดลงไปทีละน้อยด้วยความระมัดระวัง
  1. ถ่ายน้ำทิ้งเมื่อเห็นว่าน้ำในหม้อน้ำสกปรก เช่น  มีสนิม  หรือคราบน้ำมัน  การถ่ายน้ำมันให้ติดเครื่องเดินเบา  พร้อมกับนำน้ำสะอาดมาเติมที่หม้อน้ำให้เต็มอยู่เสมอ  ในขณะที่ก๊อกถ่ายน้ำมันกำลังเปิดอยู่  การทำเช่นนี้เพื่อให้น้ำมีการหมุนเวียนถ่ายสิ่งสกปรกทิ้งไปตามน้ำด้วย

Cr. http://mechanicauto.blogspot.com/

[:en]

การบำรุงรักษารังผึ้งหม้อน้ำ

รังผึ้งหม้อน้ำ  ทำหน้าที่ควบคุมการระบายความร้อนจากห้องเผาไหม้เครื่องยนต์  ให้อยู่ในอุณหภูมิใช้งาน  (Working Temporature)  ระหว่าง  160 – 180 ฟ. มีลักษณะบอบบางและราคาแพง  หากได้รับการกระทบกระเทือนอย่างแรง  หรือถูกวัสดุแข็งเพียงเล็กน้อย  รังผึ้งหม้อน้ำก็จะชำรุดเสียหาย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขนส่งเครื่องสูบน้ำไปปฏิบัติงานในท้องถิ่น  หากไม่ได้รับการเอาใจใส่ดูแลจากผู้ที่เกี่ยวข้องแล้ว  รังผึ้งหม้อน้ำมักชำรุดเสียหายก่อน  ที่จะนำเครื่องสูบน้ำไปใช้งาน  ทำให้เกิดความยุ่งยากเสียเวลาในการซ่อมแซม  แต่อย่างไรก็ตามหากผู้เกี่ยวข้องมีความรับผิดชอบ  ก็สามารถป้องกันแก้ไขมิให้รังผึ้งหม้อน้ำเกิดการชำรุดเสียหายได้

ข้อควรระวัง

  1. ต้องตรวจดูระดับน้ำทุก ๆ ครั้งก่อนติดเครื่องยนต์ ปกติระดับน้ำต้องอยู่ระหว่างคอหม้อน้ำ
  1. ควรเติมน้ำที่สะอาดลงไปในหม้อน้ำเท่านั้น เพื่อป้องกันมิให้หม้อน้ำ  หรือทางเดินของหลอดรังผึ้งหม้อน้ำเกิดการอุดตัน
  1. ตรวจดูรอยรั่วตามที่ต่าง ๆ เช่น ท่อยางหม้อน้ำ  รังผึ้ง  ปั๊มน้ำ  ฯลฯ  หากมีรอยรั่วซึมให้ทำการซ่อมแซมแก้ไขทันที
  1. ตรวจดูสายพาน อย่าให้หย่อนหรือตึงเกินไป  ปกติต้องอยู่ระหว่าง ½” – 1”
  2. ตรวจดูครีบที่รังผึ้งหม้อน้ำอย่าให้พับงอปิดช่องทางลม หรือสกปรกเต็มไปด้วยดินโคลนและคราบน้ำมัน  เพราะจะทำให้ระบายความร้อนยาก  เครื่องยนต์จะร้อนจัด  หากครีบพับงอให้ใช้ใบเลื่อยหรือโลหะบาง ๆ ดัดให้ตรง  ถ้าครีบสกปรกให้ทำความสะอาด  ใช้ลมหรือไอน้ำร้อนที่มีความดันสูงพ่นย้อนทิศทางลมเข้า
  1. พัดลมระบายความร้อนต้องอยู่ในสภาพที่ดี ไม่แตกหัก  หรือบิดงอเสียศูนย์จะทำให้ปั๊มน้ำชำรุด
  1. อย่าติดเครื่องยนต์โดยมิได้ปิดฝาหม้อน้ำเป็นอันขาด เพราะจะทำให้เกิดตะกรันในรังผึ้งและภายใน  เครื่องยนต์  เนื่องจากน้ำในรังผึ้งหม้อน้ำระเหยออกได้ง่าย  เครื่องยนต์จะร้อนจัด  เพราะระบายความร้อนยาก
  2. เกย์วัดความร้อนต้องอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ หากเสียใช้การไม่ได้ให้จัดการเปลี่ยนใหม่
  1. อย่าปิดฝาหม้อน้ำเพื่อตรวจเช็คระดับน้ำในขณะที่เครื่องยนต์มีอุณหภูมิสูง หรือกำลังทำงานอยู่  เพราะกำลังดันของไอน้ำจะทำให้เกิดอันตรายได้
  2. หากน้ำในหม้อน้ำเกิดแห้งลงในขณะที่เครื่องยนต์กำลังทำงาน และมีอุณหภูมิสูง  อย่าดับเครื่องยนต์และเติมน้ำในทันที  ให้ติดเครื่องเดินเบาสักระยะหนึ่ง  พอให้อุณหภูมิเครื่องยนต์ลดลง  แล้วค่อย ๆ เติมน้ำที่สะอาดลงไปทีละน้อยด้วยความระมัดระวัง
  1. ถ่ายน้ำทิ้งเมื่อเห็นว่าน้ำในหม้อน้ำสกปรก เช่น  มีสนิม  หรือคราบน้ำมัน  การถ่ายน้ำมันให้ติดเครื่องเดินเบา  พร้อมกับนำน้ำสะอาดมาเติมที่หม้อน้ำให้เต็มอยู่เสมอ  ในขณะที่ก๊อกถ่ายน้ำมันกำลังเปิดอยู่  การทำเช่นนี้เพื่อให้น้ำมีการหมุนเวียนถ่ายสิ่งสกปรกทิ้งไปตามน้ำด้วย

Cr. http://mechanicauto.blogspot.com/

[:]

ท่าทรายกนก