ใครว่าดอกยางไม่สำคัญ

[:TH]

ใครว่าดอกยางไม่สำคัญ

ดอกยางรถยนต์นั้นมีไว้ เพื่อยึดเกาะถนนและรีดน้ำขณะขับรถเมื่อถนนเปียก เพื่อให้หน้ายางนั้นสัมผัสพื้นถนนทำให้การเดินทางนั้นสามารถเดินทางได้อย่างปลอดภัยและไม่ลื่นจนออกถนน นอกจากนี้ยางยังทำหน้าที่กระจายน้ำหนักให้รถยนต์ โดยหน้ายางจะทำหน้าที่กระจายแรงทั้งหมดไปยังทิศทางต่างๆ สู่ผิวถนน ยางรถยนต์ทุกชนิดจะมีดอกยาง ยกเว้นยางรถยนต์ที่ใช้ในการแข่งขันทางเรียบและความเร็วสูง ที่พื้นถนนต้องแห้ง ซึ่งยางประเภทนี้เรียกว่า สลิ้ก (Slick)

ดอกยาง คือส่วนบริเวณบนหน้ายาง และมีหน้าสัมผัสถนนตลอดเวลาที่รถวิ่ง

ร่องยาง คือร่องที่ลึกลงไปจากหน้ายาง หรือร่องที่อยู่ระหว่างยาง

ร่องยางที่ตื้น (ดอกยางหมด) หรือที่เรียกกันว่า ดอกยางโล้น จะทำให้ยางนั้นรีดน้ำได้น้อยลงและลื่นเมื่อเจอสภาพถนนที่เปียกหรือฝนตก เพราะร่องยางนั้นมีไว้เพื่อรีดน้ำ โดยหากมีร่องยางที่ตื้นน้ำที่แทรกอยู่ระหว่างหน้ายางกับพื้นถนน จะทำให้ผิวสัมผัสหน้ายางกับพื้นถนนลดลง ซึ่งเมื่อวิ่งก็จะเกิดอาการลื่นไถล แต่เมื่อวิ่งในถนนที่แห้งและแดดจัด จะวิ่งได้ดีกว่าเพราะยางมีหน้าสัมผัสพื้นถนนมากกว่า ดอกยางที่ดีควรมีความลึกไม่น้อยกว่า 3 มม. ซึ่งขึ้นอยู่กับความลึกของน้ำบนผิวถนนและความเร็วของรถด้วยส่วนอายุของยางไม่ควรเกิน 5 ปี นับจากวันที่ผลิต หากครบหรือเกินควรรีบเปลี่ยนทันทีเพื่อความปลอดภัย ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีการผลิตยางของดีสโตน ได้คิดค้นการออกแบบดอกยางตามวัตถุประสงค์การใช้งานของรถยนต์แต่ละประเภทที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ดอกยางแต่ละประเภทมีความสัมพันธ์กับการยึดเกาะถนน การรีดน้ำ การสลัดดินโคลน การตะกุยปีนป่าย รวมถึงเรื่องของเสียงรบกวนอีกด้วย

ยางรถยนต์ที่ใช้งานบนถนนที่เรียบ ดอกยางควรเป็นดอกละเอียด ร่องยางไม่ห่าง เพื่อไม่ให้เสียพื้นผิวสัมผัสกับหน้าถนนมากจนเกินไป สามารถรีดน้ำออกได้อย่างรวดเร็ว และมีเสียงรบกวนน้อย

ยางรถยนต์ที่ใช้งานถนนออฟโรด ลุยโคลน หินหรือใช้งานในเส้นทางวิบาก ดอกยางควรมีดอกยางที่ใหญ่และมีร่องยางห่าง เพื่อเน้นการสลัดโคลน หิน หรือน้ำ หากใช้ดอกยางละเอียด เศษโคลนหรือหิน กรวดอาจเข้าไปติดตามดอกและร่องยาง จนหน้ายางลื่น และถ้านำดอกยางที่ใหญ่มาใช้งานบนทางเรียบ ร่องยางที่ห่างทำให้มีผิวสัมผัสถนนน้อย การยึดเกาะถนนก็น้อยตามไปด้วยและในช่วงความเร็วสูงจะมีเสียงดังจนน่ารำคาญ

ยางรถยนต์ที่ใช้งานสำหรับเส้นทางกึ่งลุย กึ่งเรียบ (All Terrain) สำหรับยางประเภทนี้ เมื่อนำไปใช้บนถนนเรียบ การยึดเกาะทำได้ดีระดับหนึ่งและมีเสียงรบกวนอยู่บ้าง ในขณะที่เมื่อนำไปใช้บนเส้นทางสมบุกสมบัน เช่น ทางลูกรัง หิน กรวด ทราย ก็สามารถใช้งานได้ดี (ยางประเภทนี้จะไม่เหมาะกับถนนที่เป็นดินโคลน)

ประเภทของดอกยาง มีการแบ่งออกเป็น 4 ประเภท

ดอกยางละเอียด (rib pattern)
มีดอกยางและร่องยางเป็นแนวแถวเส้นรอบวงของยาง และมีรูแบบเรียงตัวของร่องยาง ตามการออกแบบของบริษัทผู้ผลิต โดยทั่วไปแล้ว เน้นให้ยางใช้งานได้ดีในสภาพถนนเรียบ

ดอกบั้ง (lug pattern)
ดอกยางและร่องยางเป็นแนวขวาง กับเส้นรอบวงของยาง ซึ่งการออกแบบยางเช่นนี้ต้องการประสิทธ์ภาพในการตะกุย อีกทั้งร่องยางมีความลึก ทำให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน เหมาะสำหรับใช้งานบนถนนที่ขรุขระ และทางเรียบในความเร็วต่ำ และปานกลาง

ดอกแบบผสม (rib lug pattern)
เป็นการผสมจุดเด่นของยางทั้งสองแบบ โดยดอกละเอียดจะอยู่ตรงกลาง โดยมีดอกบั้งอยู่รอบนอกทั้งสองด้าน

ดอกแบบบล็อก (block pattern)
ดอกยางประเภทนี้มีลักษณะเป็นจุด หรือก้อน อาจมีรูปทรงแบบวงกลม หรือเหลี่ยมก็ได้ ให้แรงตะกุยสูง เหมาะสำหรับใช้งานแบบออฟโรดทั้งลุยโคลนและทราย

นอกจากนี้ดอกยางรถยนต์ยังแบ่งตามลักษณะของดอกยางได้อีก 3 ลักษณะคือ

ดอกยางแบบ 2 ทิศทาง (Non-Directional) ดอกยางประเภทนี้จะสามารถทำการสลับยางได้ทุกตำแหน่ง ลักษณะมีดอกยางสวนทางกัน จึงไม่เน้นในเรื่องของความเร็วสูงมากนัก แต่ก็ใช้ได้อย่างสะดวกสบาย

ดอกยางแบบทิศทางเดียว (Directional) ดอกยางจะมีลักษณะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งยังมีสัญลักษณ์ลูกศร (Rotation) แสดงไว้ที่บริเวณแก้มยาง เพื่อบ่งบอกถึงตำแหน่งของทิศทางของการหมุนของล้อให้เราสามารถใส่ได้อย่างถูกต้อง ดอกยางประเภทนี้ ถูกออกแบบมาให้สามารถรีดน้ำได้ดีกว่าประเภทแบบ Non-Directional เพื่อควบคุมการขับขี่ได้อย่างมั่นคงและสามารถใช้ความเร็วสูงได้ดี

ดอกยางแบบไม่สมมาตรกัน (Asymmetric) ลายดอกยางด้านในและด้านนอกจะมีความต่างกัน ซึ่งเกิดจากการออกแบบให้หน้ายางด้านในเกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการขับขี่ทางตรง และความเร็วสูง ขณะที่หน้ายางด้านนอกจะทำหน้าที่ยึดเกาะบนทางโค้งได้ดี ยางประเภทนี้จะเหมาะสำหรับเมืองที่มีถนนโค้ง คดเคี้ยวมากๆ หรือ เหมาะสำหรับในรถยนต์บางยี่ห้อที่ออกแบบให้การขับขี่มีการเข้าโค้งในความเร็วสูง แต่สำหรับบ้านเราก็อาจมีไม่มากนัก

เมื่อเข้าใจลักษณะดอกยางรถยนต์แล้ว คุณก็ควรหมั่นตรวจสอบดอกยางรถยนต์ของคุณให้พร้อมใช้งานทุกสถานการณ์

Cr. http://www.deestone.com

[:en]

ใครว่าดอกยางไม่สำคัญ

ดอกยางรถยนต์นั้นมีไว้ เพื่อยึดเกาะถนนและรีดน้ำขณะขับรถเมื่อถนนเปียก เพื่อให้หน้ายางนั้นสัมผัสพื้นถนนทำให้การเดินทางนั้นสามารถเดินทางได้อย่างปลอดภัยและไม่ลื่นจนออกถนน นอกจากนี้ยางยังทำหน้าที่กระจายน้ำหนักให้รถยนต์ โดยหน้ายางจะทำหน้าที่กระจายแรงทั้งหมดไปยังทิศทางต่างๆ สู่ผิวถนน ยางรถยนต์ทุกชนิดจะมีดอกยาง ยกเว้นยางรถยนต์ที่ใช้ในการแข่งขันทางเรียบและความเร็วสูง ที่พื้นถนนต้องแห้ง ซึ่งยางประเภทนี้เรียกว่า สลิ้ก (Slick)

ดอกยาง คือส่วนบริเวณบนหน้ายาง และมีหน้าสัมผัสถนนตลอดเวลาที่รถวิ่ง

ร่องยาง คือร่องที่ลึกลงไปจากหน้ายาง หรือร่องที่อยู่ระหว่างยาง

ร่องยางที่ตื้น (ดอกยางหมด) หรือที่เรียกกันว่า ดอกยางโล้น จะทำให้ยางนั้นรีดน้ำได้น้อยลงและลื่นเมื่อเจอสภาพถนนที่เปียกหรือฝนตก เพราะร่องยางนั้นมีไว้เพื่อรีดน้ำ โดยหากมีร่องยางที่ตื้นน้ำที่แทรกอยู่ระหว่างหน้ายางกับพื้นถนน จะทำให้ผิวสัมผัสหน้ายางกับพื้นถนนลดลง ซึ่งเมื่อวิ่งก็จะเกิดอาการลื่นไถล แต่เมื่อวิ่งในถนนที่แห้งและแดดจัด จะวิ่งได้ดีกว่าเพราะยางมีหน้าสัมผัสพื้นถนนมากกว่า ดอกยางที่ดีควรมีความลึกไม่น้อยกว่า 3 มม. ซึ่งขึ้นอยู่กับความลึกของน้ำบนผิวถนนและความเร็วของรถด้วยส่วนอายุของยางไม่ควรเกิน 5 ปี นับจากวันที่ผลิต หากครบหรือเกินควรรีบเปลี่ยนทันทีเพื่อความปลอดภัย ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีการผลิตยางของดีสโตน ได้คิดค้นการออกแบบดอกยางตามวัตถุประสงค์การใช้งานของรถยนต์แต่ละประเภทที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ดอกยางแต่ละประเภทมีความสัมพันธ์กับการยึดเกาะถนน การรีดน้ำ การสลัดดินโคลน การตะกุยปีนป่าย รวมถึงเรื่องของเสียงรบกวนอีกด้วย

ยางรถยนต์ที่ใช้งานบนถนนที่เรียบ ดอกยางควรเป็นดอกละเอียด ร่องยางไม่ห่าง เพื่อไม่ให้เสียพื้นผิวสัมผัสกับหน้าถนนมากจนเกินไป สามารถรีดน้ำออกได้อย่างรวดเร็ว และมีเสียงรบกวนน้อย

ยางรถยนต์ที่ใช้งานถนนออฟโรด ลุยโคลน หินหรือใช้งานในเส้นทางวิบาก ดอกยางควรมีดอกยางที่ใหญ่และมีร่องยางห่าง เพื่อเน้นการสลัดโคลน หิน หรือน้ำ หากใช้ดอกยางละเอียด เศษโคลนหรือหิน กรวดอาจเข้าไปติดตามดอกและร่องยาง จนหน้ายางลื่น และถ้านำดอกยางที่ใหญ่มาใช้งานบนทางเรียบ ร่องยางที่ห่างทำให้มีผิวสัมผัสถนนน้อย การยึดเกาะถนนก็น้อยตามไปด้วยและในช่วงความเร็วสูงจะมีเสียงดังจนน่ารำคาญ

ยางรถยนต์ที่ใช้งานสำหรับเส้นทางกึ่งลุย กึ่งเรียบ (All Terrain) สำหรับยางประเภทนี้ เมื่อนำไปใช้บนถนนเรียบ การยึดเกาะทำได้ดีระดับหนึ่งและมีเสียงรบกวนอยู่บ้าง ในขณะที่เมื่อนำไปใช้บนเส้นทางสมบุกสมบัน เช่น ทางลูกรัง หิน กรวด ทราย ก็สามารถใช้งานได้ดี (ยางประเภทนี้จะไม่เหมาะกับถนนที่เป็นดินโคลน)

ประเภทของดอกยาง มีการแบ่งออกเป็น 4 ประเภท

ดอกยางละเอียด (rib pattern)
มีดอกยางและร่องยางเป็นแนวแถวเส้นรอบวงของยาง และมีรูแบบเรียงตัวของร่องยาง ตามการออกแบบของบริษัทผู้ผลิต โดยทั่วไปแล้ว เน้นให้ยางใช้งานได้ดีในสภาพถนนเรียบ

ดอกบั้ง (lug pattern)
ดอกยางและร่องยางเป็นแนวขวาง กับเส้นรอบวงของยาง ซึ่งการออกแบบยางเช่นนี้ต้องการประสิทธ์ภาพในการตะกุย อีกทั้งร่องยางมีความลึก ทำให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน เหมาะสำหรับใช้งานบนถนนที่ขรุขระ และทางเรียบในความเร็วต่ำ และปานกลาง

ดอกแบบผสม (rib lug pattern)
เป็นการผสมจุดเด่นของยางทั้งสองแบบ โดยดอกละเอียดจะอยู่ตรงกลาง โดยมีดอกบั้งอยู่รอบนอกทั้งสองด้าน

ดอกแบบบล็อก (block pattern)
ดอกยางประเภทนี้มีลักษณะเป็นจุด หรือก้อน อาจมีรูปทรงแบบวงกลม หรือเหลี่ยมก็ได้ ให้แรงตะกุยสูง เหมาะสำหรับใช้งานแบบออฟโรดทั้งลุยโคลนและทราย

นอกจากนี้ดอกยางรถยนต์ยังแบ่งตามลักษณะของดอกยางได้อีก 3 ลักษณะคือ

ดอกยางแบบ 2 ทิศทาง (Non-Directional) ดอกยางประเภทนี้จะสามารถทำการสลับยางได้ทุกตำแหน่ง ลักษณะมีดอกยางสวนทางกัน จึงไม่เน้นในเรื่องของความเร็วสูงมากนัก แต่ก็ใช้ได้อย่างสะดวกสบาย

ดอกยางแบบทิศทางเดียว (Directional) ดอกยางจะมีลักษณะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งยังมีสัญลักษณ์ลูกศร (Rotation) แสดงไว้ที่บริเวณแก้มยาง เพื่อบ่งบอกถึงตำแหน่งของทิศทางของการหมุนของล้อให้เราสามารถใส่ได้อย่างถูกต้อง ดอกยางประเภทนี้ ถูกออกแบบมาให้สามารถรีดน้ำได้ดีกว่าประเภทแบบ Non-Directional เพื่อควบคุมการขับขี่ได้อย่างมั่นคงและสามารถใช้ความเร็วสูงได้ดี

ดอกยางแบบไม่สมมาตรกัน (Asymmetric) ลายดอกยางด้านในและด้านนอกจะมีความต่างกัน ซึ่งเกิดจากการออกแบบให้หน้ายางด้านในเกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการขับขี่ทางตรง และความเร็วสูง ขณะที่หน้ายางด้านนอกจะทำหน้าที่ยึดเกาะบนทางโค้งได้ดี ยางประเภทนี้จะเหมาะสำหรับเมืองที่มีถนนโค้ง คดเคี้ยวมากๆ หรือ เหมาะสำหรับในรถยนต์บางยี่ห้อที่ออกแบบให้การขับขี่มีการเข้าโค้งในความเร็วสูง แต่สำหรับบ้านเราก็อาจมีไม่มากนัก

เมื่อเข้าใจลักษณะดอกยางรถยนต์แล้ว คุณก็ควรหมั่นตรวจสอบดอกยางรถยนต์ของคุณให้พร้อมใช้งานทุกสถานการณ์

Cr. http://www.deestone.com

[:]

ท่าทรายกนก