[:TH]ความรู้เกี่ยวกับจาระบี[:]

[:TH]จาระบี

จาระบี คือน้ำมัน (70-95%) ผสมกับสารอุ้มน้ำมัน (5-30%) สารอุ้มน้ำมันจะคล้ายฟองน้ำที่อุ้มน้ำมันไว้ ซึ่งส่วนมากผลิตจากไขสบู่โลหะ (สบู่ที่ผสมลงไปจะทำให้จาระบีมีความข้นเหนียว มีคุณสมบัติกึ่งแข็งกึ่งเหลว ช่วยอุ้มและจับเกาะน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน และสารเพิ่มคุณภาพทางเคมีทำให้ไม่ไหลเยิ้มออกมาในขณะใช้งาน ความแตกต่างของจาระบีแต่ละชนิดขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของสบู่ที่ผสม)

สารอุ้มน้ำมันที่มักใช้โดยทั่วไปมีอยู่ 3 ประเภทได้แก่

1.ลิเธียม (ให้การใช้งานที่ช่วงอุณหภูมิกว้าง)

2.แคล-เซียม (ทนน้ำได้ดี แต่มีอุณหภูมิทำงานสูงสุดที่ 60 °C)

3.โซเดียม (มีคุณสมบัติการซีลที่ดี แต่ห้ามโดนน้ำ)

สารเพิ่มคุณภาพพิเศษ เช่น สารป้องกันสนิม สารป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น สารรับแรงกดสูง และสารป้องกันการสึกหรอ สามารถเติมเพื่อเพิ่มคุณสมบัติตามต้องการได้

น้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานที่ใช้ทำจาระบีมักเป็นพวกที่มีดัชนีความหนืดสูง เพื่อให้สามารถใช้ได้ทั้งอุณหภูมิสูงและต่ำในบางที่ที่ไม่สามารถใช้น้ำมันหล่อลื่นได้ เช่น แบริ่งหรือลูกปืนบางชนิด ลูกหมากปีกนก คันชักคันส่ง หูแหนบ ฯลฯ เพราะอาจเกิดปัญหาเรื่องการรั่วไหล ฝุ่นหรือสิ่งสกปรกแทรกเข้าไปเจือปน ฯลฯ ทำให้การหล่อลื่นไม่ได้ผล จึงจำเป็นต้องใช้ผลิตภัณฑ์หล่อลื่นอื่นที่มีสภาพความคงตัว มีคุณสมบัติในการจับติดขึ้นส่วนที่ต้องการได้ดีกว่าน้ำมันหล่อลื่น ซึ่งก็คือ จาระบี

ในการเลือกใช้จาระบี คุณสมบัติโดยทั่วไปที่ต้องคำนึงถึงได้แก่

  • ความแข็งอ่อนของจาระบี

ความอ่อนหรือแข็งของจาระบี วัดโดยปล่อยให้เครื่องมือรูปกรวยปลายแหลมจมลงในเนื้อจาระบีที่อุณหภูมิ 25 °Cเป็นเวลา 5 วินาที และวัดความลึกเป็น 1/10 ของมิลลิเมตร ถ้ากรวยจมลงได้ลึกมากก็แสดงว่าจาระบีอ่อนมาก สถาบันจาระบีในสหรัฐฯ (National Lubricating Grease Institute ชื่อย่อ NLGI) ได้กำหนดเบอร์ของจาระบีไว้ดังนี้

เบอร์จาระบี แสดงว่าเมื่อเบอร์จาระบีสูงขึ้น จาระบีจะมีสภาพแข็งขึ้น ส่วนระยะจมนั้นแสดงถึงความลึกของกรวยที่จมลงในจาระบี ถ้าระยะจมมาก แสดงว่าจาระบีมีสภาพอ่อนนิ่มกว่าระยะจมน้อย ความอ่อนแข็งของจาระบีขึ้นกับเปอร์เซ็นต์ของสบู่และความหนืดของ น้ำมันพื้นฐาน

  • ช่วงอุณหภูมิการทำงาน

ขึ้นอยู่กับชนิดของน้ำมันพื้นฐานและสารอุ้มน้ำมัน คุณสมบัติของน้ำมันพื้นฐานและความหนืดจะใช้ในการกำหนดอุณหภูมิการใช้งานต่ำสุดของจาระบี (เช่น ในระหว่างการเริ่มเดินเครื่อง) อุณหภูมิสูงสุดที่จาระบีใช้งานได้ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของสารอุ้มน้ำมัน ท่านจะต้องไม่สับสนระหว่างอุณหภูมิใช้งานสูงสุดกับจุดหยดของจาระบี ซึ่งใช้อ้างอิงโดยผู้ผลิตและเป็นจุดที่จาระบีจะสูญเสียคุณสมบัติความแข็งอ่อนและกลายสภาพเป็นของไหล

“จุดหยด”คืออุณหภูมิที่จาระบีหมดความคงตัว กลายเป็นของเหลงจนไหลออก ดังนั้นจุดหยด จึงเป็นสิ่งบ่งบอกถึงอุณหภูมิสูงสุดที่จาระบีทนได้ โดยทั่วไปอุณหภูมิใช้งานจะต่ำกว่าจุดหยด 40๐ – 62 °C การใช้จาระบีในที่อุณหภูมิสูงๆ จึงต้องพิจารณาถึงจุดหยดด้วย

  • สารเพิ่มคุณภาพ

ในงานที่ต้องรับน้ำหนักสูง สารรับแรงกดสูง ( extreme pressure หรือ EP) จะช่วยเพิ่มความสามารถในการรับน้ำหนักกดและป้องกันเนื้อโลหะ เชื่อมติดกัน โดยทั่วไปสารเพิ่มคุณภาพประเภทซัลเฟอร์/ฟอสฟอรัส จะใช้ในงานรับแรงกดสูง ในทางตรงกันข้าม เมื่อฟิล์มน้ำมันไม่เพียงพอ สารเพิ่มคุณภาพประเภทของแข็งเช่น กราไฟท์ โมลิบดีนัมไดซัลไฟต์ จะถูกนำมาใช้ สารป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นจะถูกใช้ในการยืดอายุของจาระบี ในขณะที่สารป้องกันสนิมจะช่วยป้องกันจากการกัดกร่อนแม้ในกรณีที่มีน้ำปนเปื้อน

การเลือกใช้

จาระบีที่จำหน่ายอยู่ในท้องตลาดมีอยู่หลายประเภท ควรเลือกใช้ให้ถูกต้องการและเหมาะสมดังนี้

  1. สัมผัสกับน้ำและความชื้นหรือไม่ ถ้าสัมผัสหรือเกี่ยวข้องต้องเลือกใช้จาระบีประเภททนน้ำ ถ้าเลือกใช้ผิดประเภท จาระบีจะถูกดูดความชื้นหรือน้ำชะล้าง ทำให้เยิ้มหลุดออกจากจุดหล่อลื่นได้
  2. อุณหภูมิใช้งานสูงมากน้อยแค่ไหน จุดใช้งานที่อุณหภูมิสูงกว่า 80 °C ควรเลือกใช้จาระบีประเภททนความร้อน ถ้าเลือกใช้ไม่ถูกต้อง จาระบีจะเยิ้มเหลวทะลักออกมาจากจุดหล่อลื่น
  3. ในกรณีที่สัมผัสทั้งน้ำและความร้อน ควรเลือกใช้จาระบีประเภทอเนกประสงค์ (Multipurpose) คุณภาพดี หรือจาระบีคอมเพล็กซ์ (Complex) ซึ่งราคาย่อมแพงกว่าจาระบีประเภททนน้ำ หรือความร้อนเพียงอย่างเดียว
  4. มีแรงกดแรงกระแทกระหว่างการใช้งาน ถ้ามีมากควรพิจารณาเลือกใช้จาระบีประเภทผสมสารรับแรงกดแรงกระแทก (EP Additives)
  5. สภาพแวดล้อมทั่วไป เช่น ถ้ามีฝุ่นละอองและสิ่งสกปรก หรือุณหภูมิสูงมากจะเป็นปัจจัยสำคัญทำให้ต้องอัดจาระบีบ่อยครั้งขึ้น
  6. การเลือกใช้เบอร์จาระบี วิธีการนำจาระบีไปใช้งาน ซึ่งมีอยู่หลายแบบถ้าเป็นระบบแบบจุดจ่ายกลาง (Centralized System) ที่ใช้ปั้มป้อนจาระบีไปยังจุดหล่อลื่นต่างๆ ก็ควรใช้จาระบีอ่อน คือเบอร์ 0 หรือเบอร์ 1 ถ้าอัดด้วยมือหรือปืนอัด อาจใช้เบอร์ 2 หรือ เบอร์ 3 หรือแข็งกว่านี้ ถ้าป้ายหรือทาด้วยมือ ความอ่อนแข็งไม่สำคัญมากนัก นอกจากนั้นถ้าเป็นพวกกระปุกเฟืองเกียร์ที่ใช้จาระบีหล่อลื่น ก็ควรใช้จาระบี ประเภทอ่อน คือ เบอร์ 0 หรือ เบอร์ 1

credit: website thaigood view and skf[:]

ท่าทรายกนก